ข่าวนี้เงียบเกินไปนิด น่าจะเป็นเพราะว่าเดากันได้หมดมั้งครับ
ตัวเลขออกเมื่อ 5 พ.ค. ที่ผ่านมาดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อ

ALL COMMODITIES

ในเดือน เม.ย.63 index = 99.75

Apr 20 / Apr 19 = -2.99%

Apr 20 / Mar 20 = -2.03%

YTD = -0.44%

ตัวที่ดึง mean คือ ราคาน้ำมัน

ถ้าดูเฉพาะหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่หลังจาก lock down แล้วมีการขาย/ตุน กันกระจาย ก็จะได้อีกภาพนึง

FOOD AND NON – ALCOHOLIC BEVERAGES

ในเดือน เม.ย.63 index = 105.03

Apr 20 / Apr 19 = 1.04%

Apr 20 / Mar 20 = 0.08%

YTD = 1.62%

ดูแล้วแทบไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากโควิด

แต่ถ้าเป็นกลุ่ม Non-Food ซึ่งเกือบทุกตัว ถ้าอยู่ในห้าง ก็จะถูกห้ามขาย ภาพเลยออกมาไม่ค่อยสวยเท่าไหร่

NON-FOOD AND BEVERAGES

ในเดือน เม.ย.63 index = 96.79

Apr 20 / Apr 19 = -5.28%

Apr 20 / Mar 20 = -3.28%

YTD = -1.61%

เอาจริงๆ อัตราเงินเฟ้อ อาจจะไม่ได้บอกอะไรตรงๆ เกี่ยวกับ growth ของเศรษฐกิจเท่าไหร่ หลักๆ เน้นไปที่การจับทิศทางราคาของสินค้าว่าที่ Volume เท่าเดิม แล้ว Value ไปทิศทางใด

ดังนั้นถ้าจะตีความคือ Food

👉Supplier มีการขึ้นราคาเล็กน้อย (รู้ว่ายังไงก็ขายได้ ไม่ต้องลด)

หรือ

👉Consumer เปลี่ยนไปเลือกบริโภคของที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย (ช่วงตุน ของขาด อาจ switching ไปยี่ห้ออื่น)

ในขณะที่ Non-Food เป็นภาพกลับของ Food
ต้องบอกว่าช่วงมีนา เราอาจจะยังไม่เห็นผลกระทบจากโควิดกันจริงจัง ส่วนเมษานี่ก็เป็นแค่การเริ่มต้น เพราะเราเพิ่ง lock down กันจริงๆ ผมว่าหลังจากเดือนพฤษภาเป็นต้นไป (ถ้าไม่มีการระบาดระลอก 2) เราจะเห็นผลกระทบกันชัดขึ้นๆ แน่นอนว่าไม่ต้องเดาว่า แย่ แต่จะแย่แค่ไหน

ตัวเลขนี้น่าจะนำไปประกอบการปรับเป้า ปรับแผน Q3, Q4 กันได้ไม่มากก็น้อยครับ
สู้ สู้ ครับ
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์