สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ฟัง Facebook Live หลายสำนัก ซึ่งส่วนใหญ่เชิญเจ้าของร้านอาหารมาสัมภาษณ์เรื่องการปรับตัว ปรับ model ที่เมื่อก่อนไม่เน้น Delivery แต่ตอนนี้ถูก(สถานการณ์)บังคับให้ต้องมาเน้นทำ Delivery

หนักสุดคือ บางร้านที่ไม่สามารถทำเป็น Delivery ได้ เช่น บุฟเฟ่ต์ ก็ยังต้องหันมาปรับตัวทำ Delivery เพื่อความอยู่รอด

สรุปการปรับตัวแต่ละรายใช้วิธีคิดแบบนี้ครับ คือ

  1. Segment/Product ปัจจุบัน VS. Product ใหม
  2. Targeting ลูกค้าเดิม VS. ลูกค้าใหม่

(ตามรูป) เมื่อนำ 2 แกนนี้มาพลอต จะได้เป็น 4 รูปแบบ

  1. Product ปัจจุบัน + ลูกค้าเดิม
  2. Product ปัจจุบัน + ลูกค้าใหม่
  3. Product ใหม่ + ลูกค้าเดิม
  4. Product ใหม่ + ลูกค้าใหม่

ก่อน Covid ส่วนใหญ๋ก็ใช้วิธี (1) เป็นหลัก เน้นให้ลูกค้าเดิมเข้าถี่ขึ้น + ใช้จ่ายต่อครั้งเยอะขึ้น

มีทำ (2) บ้างเป็นการ Recruit New User เข้ามา

(3) นี่น้อยมาก (ในที่นี้หมายถึง Segment สินค้าใหม่เลย เช่น MK ขายชาไข่มุก) ที่น้อยเพราะยาก และ ถึงทำสำเร็จก็ให็ impact ต่ำ

(4) นี่ ไม่ต้องพูดถึง เป็นอะไรที่ยากที่สุด

หลัง Covid ทุกเจ้าเหมือนถูกบังคับให้ต้องใช้ ข้อ (3) คือต้องปรับเปลี่ยน Product ตัวเอง เพราะอาหารหลายอย่างเหมาะทานที่ร้าน มากกว่าสั่งกลับบ้าน

ผมว่าบุฟเฟต์หนักสุด แต่ก็มีเจ้าที่ทำได้ดีมาก คือ Sukishi (ผมก็ตกเป็นเหยื่อ 55) คือการขายอาหารพ่วงเตา(กระทะ+หม้อไฟฟ้า) เพราะมูลค่าเตาแพงใช้ได้ แต่เอามาจัด Pro เหมือนแจกฟรี

การซื้อก็ยุ่งยาก ต้องไปรับเอง (อยู่ไกลมากสำหรับผม) หรือสั่งให้ grab/lineman ไปรับเอง (ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอีก) แต่ขอโทษ มีเท่าไหร่ก็ไม่พอ (วันละ 2,000 ชุด)
บ้านผมไม่เคยทาน Sukishi เลย แปลว่า Promotion นี้ ได้ทั้ง (3) + (4) ไปในตัว ถือว่า Success มากๆ

เกี่ยวอะไรกับ FMCG

ถามว่าเกี่ยวกับ FMCG ยังไง? ต้องบอกว่า FMCG ถือว่าโชคดี ที่ไม่ต้องโดนอะไรแบบร้านอาหาร

แต่เอาจริงๆ หลัง lock down ผมยังไม่เห็นอะไรเด็ดๆ คิดนอกกรอบ จาก FMCG สักเท่าไหร่ เดาว่าอาจจะยุ่งกับการหาของส่งให้พอ

แต่ยังไง ผมก็อยากแนะนำแบบนี้ครับ

อยากให้ลองสมมติตัวเองให้ไปอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นตายเท่ากัน (อย่างร้านบุฟเฟต์) แล้วลองคิดดูว่า คุณมี option อะไรบ้าง สามารถทำอะไรได้บ้า

ไม่บ่อยนะครับ ที่จะมีโอกาสแบบนี้ โอกาสแบบที่อะไรก็เป็นไปได้ หรือจะอยู่เฉยๆ ปล่อยให้เป็น “ความโชคร้าย ใน ความโชคดี” แบบที่เห็น