หลังจากอ่าน 2 เรื่องนี้ โดยบังเอิญ และดันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน
- ปัญหาของแม่ค้าใน pantip เรื่อง “Shopee ประเทศไทย เริ่มเอาสินค้าที่ขายด้วยร้านอื่นๆ ออก แล้วนำมาขายเอง” https://pantip.com/topic/39047751
และ - บทวิเคราะห์จาก SCB Economic Intelligence Center หัวข้อ “เมื่อแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไม่หยุดแค่ online อีกต่อไป” https://www.scbeic.com/th/detail/product/6067
อ่านเสร็จ ก็ทำให้เกิดคำถามกับตัวเองว่า
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าวันหนึ่ง Lazada / Shopee / JD.com กีดกันสินค้าคุณ/ขายแข่งกับคุณ?
บทสรุปของ Online / Ecommerce
สรุปสั้น ๆ ให้สำหรับคนที่ไม่อยากอ่าน
- Pantip
เจ้าของกระทู้ ถูก Shopee ยกเลิกไม่ให้ขายสินค้าบางตัว ที่ขายมานานแล้ว ได้คะแนนรีวิวสูงด้วย ในขณะที่มีร้านอื่นขายเหมือนกันแต่ขายได้ แต่ไม่ยกเลิกร้านอื่นๆ มีคนมาเม้นต์ตามว่าเคยเจอแบบนี้เหมือนกัน แนะนำว่าให้ตั้งร้านเป็น Mall แทน - บทวิเคราะห์ SCB
บอกว่าเจ้าของ Platform (เช่น Lazada / Shopee / JD.com) มีข้อมูล Shopper (Big Data) ทำให้สามารถวิเคราะห์ความต้องการของ Shopper ได้โดยตรง ซึ่งนำไปสู่การผลิตสินค้า House Brand/Own Brand/Private Brand ของตัวเอง (อ่านคำอธิบายแบบละเอียดได้ที่ Own Brand คือ อะไร)
อันนี้มีตัวอย่างเกิดขึ้นจริงแล้วในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Amazon หรือ Alibaba ที่ออกสินค้า Brand ตัวเองมาขายใน Platform ของตัวเอง ซึ่งมีข้อดีมากมาย เช่น
- แน่นอนราคาถูกกว่าผู้ผลิตที่ออกสินค้ามาก่อน
- เข้าถึงความต้องการผู้บริโภค ด้วย Data ที่ตัวเองมี
- และโปรโมทตรงไปที่คน Shopper
มองข้ามช็อต เพื่อการเตรียมความพร้อม
ดังนั้น คำถามที่สำคัญที่พวกเราจะต้องมองให้ขาด และตอบให้ได้ คือ
“เราจะทำอย่างไร ถ้าวันหนึ่ง Lazada / Shopee / JD.com ออก House Brand ของตัวเอง และห้ามไม่ให้ Supplier อื่นๆ ใน Category เดียวกัน ทำการโปรโมทสินค้า?”
มองให้ขาดตั้งแต่วันที่ Online เราไม่ได้ยิ่งใหญ่เท่าฝั่งอเมริกา หรือจีน เพื่อวางรากฐานให้มั่นคงตั้งแต่วันนี้ ใช้ช่องทาง Online ให้เกิดประโยชน์กับสินค้าเราให้มากสุด เร็วสุด และอย่างยั่งยืน
ความแตกต่างของ Own Brand ห้างMT vs. Online
อาจจะมีคนเห็นต่างจากผม ว่า
ในห้าง MT ก็มี House Brand / Own Brand เต็มไปหมด แต่ก็ไม่เห็นทำอะไร Supplier เจ้าใหญ่ๆ ได้เลย เพราะยังไง Shopper / Consumer ก็ติด Brand มีแต่ส่วนน้อยเท่านั้นล่ะที่จะหันมาซื้อ House Brand
ถ้าเป็นในห้าง MT ผมก็เห็นด้วย แต่ในสนาม Online นั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง
“BIG DATA” คือ Game Changer หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างชัดเจน เพราะมีประโยชน์มหาศาลในการเข้าถึง/เข้าใจ Shopper/Consumer แบบที่ห้าง MT ก็ไม่สามารถหามาได้ หรือ ถึงแม้มี แต่ก็ขาดทรัพยากรในการวิเคราะห์ และนำไปใช้งาน
สรุป
ถ้าจะให้สรุป ช่องทางไหนๆ ก็ไม่หมูล่ะครับเวลานี้ ดังนั้นผมคิดว่า การสร้างสมดุลในการบริหาร Channel ทั้งหมดที่มี คงเป็นทางออกที่ยั่งยืนที่สุด
ช่องทาง Online เป็นช่องทางที่ร้อนแรง ก่อนจะเดินหน้าเต็มที่ ก็ควรคิดให้รอบ (เอาจริงๆ ต้องหลายๆ รอบ) และหมั่น Revise ความคิด/Goal/Strategy ของช่องทางนี้อย่างสม่ำเสมอ เพราะ Online ตอนนี้เป็นช่องทางที่ยังไม่นิ่ง
ถ้าไม่แน่ใจว่ารู้รอบเรื่อง Online ต้องมีอะไรบ้าง ลองดู Model / Framwork คร่าวๆ ตามนี้ได้ครับ Online Channel Framework
หรือหากยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มยังไง หรือเริ่มไปแล้ว แต่ยังไม่ Work แนะนำให้มา Workshop : Build an Effective Online Channel ที่สอนเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนลุย Online