Stagnation + Inflation = Stagflation
อย่างที่ทราบว่าตอนนี้ภาพเศรษฐกิจฝืดๆ แม้จะขัดๆ กับตัวเลขดัชนีต่างๆ ที่ประกาศ ผมว่าพวกเราก็มีความรู้สึกขัดๆ แบบนี้ล่ะ แม้คนวงการ FMCG เรา จะยึดถือตัวเลข/สถิติ ในการทำงานเป็นเรื่องปกติ
วันนี้ผมอ่านเจอบทความนึง เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ ว่า เดือนตุลาปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.1% (Consumer Price Index)
Food prices เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.2%
Non-food-product prices ลดลง 1.1%
ผู้เขียนบทความนี้ก็พยายามหาคำตอบเพื่อพิสูจน์ว่าราคาทุกอย่างสูงขึ้น ทำไมเงินเฟ้อที่ไปสำรวจจึงไม่สูงตาม??
เช่น
ค่าตัดผมขึ้นจาก 180 => 200 (+11%)
ข้าวแกงขึ้นจาก 35 => 40 baht (+14.3%)
เป็นต้น
เรื่องตัวเลขที่ขัดแย้งกัน ผมคงไม่ลงรายละเอียด เพราะเป็นเรื่องของสูตรคำนวณ vs. ความรู้สึก
กลับมาวงการ FMCG ต่อ
ของแพงขึ้น หรือของขึ้นราคามีให้เห็นตลอด ใน 2 รูปแบบ
- ปริมาณเท่าเดิม ขึ้นราคา
- ราคาเท่าเดิม ลดปริมาณ
ไม่ว่าจะรูปแบบไหน Consumer ก็รู้สึกได้อยู่ดีว่าเงินเท่าเดิม ซื้อของได้น้อยลง
แต่ที่น่ากลัว คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หลังจากของแพงขึ้น
“Consumer has absorbed higher prices by lowering his consumption in order to keep his budget fixed”
คือ ของแพงก็กินก็ใช้ให้น้อยลง เพื่อคุมการใช้จ่าย ให้เท่าเดิม
เช่น
เมื่อก่อนกินข้าวแกง+ไข่ดาว 40 บาท
หลังขึ้นราคา ข้าวแกง+ไข่ดาว 50 บาท
ผู้บริโภคก็เลือกกินแค่ข้าวแกง ไม่ไข่ 40 บาท
ความท้าทายของผู้ผลิตอย่างเราคือ สูตรที่ว่ายิ่งผลิตเยอะ ต้นทุนยิ่งกดได้ต่ำ โดยเฉพาะต้นทุนที่เป็น Fixed Cost
กลับกันถ้าขึ้นราคา ขายได้น้อยลง ผลิตได้น้อยลง ต้นทุนก็สูงขึ้น
กลายเป็นว่า การขึ้นราคาของเรา แทนที่จะทำให้กำไรบรรทัดสุดท้ายสูงขึ้น แต่กำไรอาจจะลดลงก็เป็นได้
เพราะฉะนั้น ช่วงเวลานี้ จะเป็นช่วงเวลาที่ทำงานยากหน่อย เพราะทุกฝ่าย ทั้งเรา ทั้งลูกค้า ทั้งผู้บริหาร จะลงรายละเอียดในแทบทุกเรื่อง
แต่ช่วงลำบากนี่ล่ะครับ ที่จะแยก คนเก่ง ออกจากคนปกติ
ที่มาบทความ www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1819454/stagflation-is-now-a-reality-for-thailand