การขนส่ง-กระจายสินค้าไปตามสาขาต่างๆ เป็นงานหลังบ้านงานหนึ่งของ Key Account Management หรือ Modern Trade Management
ดังนั้นหากต้องการเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง DC ซึ่งต้องเข้าใจทั้งระบบ ที่มาที่ไป ทางเลือกที่มี วิธีการคิดค่าใช้จ่าย และการเปรียบเทียบ
คำถาม : พี่ pop ครับ พอดีห้างxxx เขาเริ่มจะให้ไปขายต่างจังหวัด พวกค่า dc เราพอต่อรองเข้าได้ไหมครับ
คำตอบ : ค่า DC (Distribution Center) คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการศูนย์กระจายสินค้าของแต่ละห้าง โดยที่ Supplier ส่งไปจุดเดียว แล้วศูนย์ฯ ช่วยกระจายสินค้าเราไปสาขาต่างๆ ให้
ที่มาที่ไปของค่า DC
เอาจริงๆ ห้างส่วนใหญ่มักจะแจ้งค่า DC เป็น Rate ที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา เนื่องจาก
- DC operate ด้วยหน่วยงานเฉพาะ รายได้จึงไม่ได้เข้า Buyer
- ใช้สูตรคำนวณตามจริง แปลผันตาม พื้นที่(จัดเก็บสินค้า) x ระยะทาง x ค่าน้ำมัน x ค่าดำเนินการ
ดังนั้นให้ถือว่า DC เป็นอีกหนึ่งในหลาย Option ในการขนส่งสินค้าเรา
หากมองมิติการขนส่งปกติ โดยสมมติว่า
- จุด A = โรงงานเรา
- จุด B = DC ห้าง
- จุด C = สาขาต่างๆ ที่กระจายทั่วประเทศ
การขนส่งมี 2 option หลักๆ
- Direct to Store – ส่งตรงสาขา คือ จุด A ไป จุด C
- Distribution Center (DC) : ส่งผ่าน DC คือ จุด A ไป จุด B โดย DC จะทำหน้าที่เป็นผู้กระจายไปจุด C ให้เรา
หาโรงงานเราต้องการส่งสินค้าจากโรงงานไปยังห้างสาขา C1 C2 C3 ในแต่ละ option จะออกมาหน้าตาแบบนี้
1) ส่งตรงสาขา คือ จุด A ไป จุด C
- A===>C1
- A===>C2
- A===>C3
2) ส่งผ่าน DC คือ จุด A ไป จุด B
- A===>B
- B—–>C1
- B—–>C2
- B—–>C3
ทั้งสองแบบอาจจะใช้ระบบขนส่งของตัวเอง หรือจ้างรถขนส่งข้างนอก หรือผสมทั้งสองอย่าง ก็สุดแท้แต่
การคำนวณค่าใช้จ่ายในแบบต่างๆ
เนื่องจากใช้กระบวนการต่างกัน ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการขนส่งจึงคำนวณต่างกัน
1) ส่งตรง ค่าใช้จ่ายแปรผันตาม
- ปริมาณสินค้า – สั่งมาก/สั่งน้อย ใช้รถใหญ่/รถเล็ก
- ระยะทางของแต่ละสาขา – อยู่ใกล้/ไกลจากโรงงาน
- หาก Order มาสม่ำเสมอ เท่าๆ กันทุกรอบ อันนี้พอกะได้ แต่ถ้าเหวี่ยงขึ้น-ลง บ่อย จะประมาณการลำบากอยู่
2) ส่งผ่าน DC ค่าใช้จ่ายคำนวณไม่ยาก
- ค่าขนส่งจากจุด A ไป จุด B
- บวกกับ
- ค่า DC ห้างนั้นๆ (คิดเป็นลัง หรือคิดเป็น% จากราคาส่ง ก็ว่ากันไป)
การจะเลือก option ใด ง่ายนิดเดียว
ก็แค่เปรียบเทียบดูว่า แบบไหนที่ค่าใช้จ่ายต่ำกว่ากัน ก็เลือกแบบนั้น
ซึ่งจะให้ฟันธงเลยคงไม่ได้ ว่าแบบไหนถูกกว่ากัน เพราะปัจจัยร่วมของแต่ละบริษัทที่ไม่เหมือนกัน
- ประสิทธิภาพแผนกขนส่งของเรา
- ราคาจ้างรถขนส่งข้างนอก
- ยอดขาย
- จำนวนโปรโมชั่น
- ประเภทสินค้า
- ความหลากหลายของสินค้า
- MOQ (Minimum Order Quantity)
- เป็นต้น
สรุป
ถ้าว่ากันตามหลักการของบริษัทส่วนใหญ่ที่เลือกใช้ระบบ DC แม้จะต้องจ่ายแพงกว่าการส่งตรง เพราะสะดวกกว่าในหลายๆ ด้าน เช่น
- เอกสารน้อยกว่า (ลดเอกสารเหลือบิล DCที่เดียว)
- การเก็บเงินง่ายกว่า (ลดปัญหาการแก้บิล รับของขาดเกิน ราคาผิด)
- บริหารค่าใช้จ่ายแม่นกว่า (ประเมินง่าย)
- สินค้าถึงสาขาเร็วกว่า (ช้ากว่าก็มีบ้าง)
- ตรวจสอบง่ายกว่า
- ลดการจ้างคนในแผนกขนส่ง