กรมธุรกิจการค้า ได้แทรกข้อมูลสถิติเกี่ยวกับวงการ Retail ปี 2019 ในข่าว พาณิชย์…เปิดตัวการสร้างร้าน ‘SMART โชวห่วย’ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ โครงการ ‘พัฒนาร้านค้าปลีกสู่ SMART โชวห่วย ผมได้สรุปเนื้อหาที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับ Supplier / Key Account Manager สำหรับอ้างอิงในการวิเคราะห์วางแผนก
Market Share ตาม Channel
Channel | Market Share |
---|---|
โชวห่วย | 44.1% |
CVS | 31.8% |
Hyper | 24.1% |
จำนวนร้านโชวห่วยในไทย
ปี | จำนวนร้านค้า |
---|---|
Y2018 | 438,820 ร้าน |
Y2019 | 443,123 ร้าน |
เพิ่มขึ้น | 4,303 ร้าน ( +1%) |
Market Share ร้านโชห่วยตามภาค
ภาค | Market Share |
---|---|
อีสาน | 34% |
กลาง | 22% |
เหนือ | 16% |
ใต้ | 15% |
กทม. + ปริมณฑล | 13% |
ที่มา www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469416316
ข้อสังเกตของผม
ผมว่าตัวเลข Market Share ตาม Channel แปลกๆ แม้กรมธุรกิจการค้าจะบอกว่าตัวเลขนี้มาจาก Nielsen แต่มันก็ยังแปลกๆ อยู่ดี
- Channel Super เช่น Tops, Foodland, Villa ไปอยู่ตรงไหน? อยู่ใน CVS หรือ Hyper หรือตกสำรวจ?
- ยอดขาย Hyper ควรจะมากกว่าหรือเท่ากับ CVS อันนี้ลองเทียบยอดขายปีที่แล้วดูนะครับ
- CVS ผมคิดว่า 7-11 คนเดียวก็ กินไป 95% ของ Channel CVS แล้ว ดังนั้น Market Share ข้างบนถือว่าเป็นตัวแทนของ 7-11
- ยอด 7-11 Y2018 คือ 308,843
- ยอด Big C Y2018 คือ 125,035 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่า Tesco นิดหน่อย ดังนั้น 2 เจ้ารวมกันน่าจะประมาณ 300,000 ล้านบาท
- ดังนั้นยอดขาย Hyper ควรจะมากกว่าหรือเท่ากับ CVS
- เดาว่าไส้ในของตัวเลขอาจจะไม่ใช่ FMCG ล้วนๆ เป็นไปได้ว่าอาจจะรวมพวกบัตรเติมเงิน หรืออื่นๆ
สำหรับคนที่ไม่ได้ซื้อข้อมูลจากเจ้าไหน ยังไงก็สามารถเอาตัวเลขนี้ไปใช้ Benchmark ได้ครับ (ดีกว่าไม่มีอะไรเป็นหลักยึดครับ)
Disclaimer : สินค้าแต่ละ Category จะมี Market Share ตาม Channel ต่างกัน เช่น CVS สินค้าที่ขายดีคือ เครื่องดื่ม ขนม ถ้าคุณไม่ใช่สินค้ากลุ่มนี้ Market Share ของคุณใน CVS ก็อาจจะน้อย หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ ถ้าคุณไม่ได้ขายใน 7-11