คำแก้ตัวสุดฮิต ของเซลล์ เวลาขายไม่ถึงเป้า
“สินค้าเราไม่มีโปร ราคาเลยแพงกว่าคู่แข่ง เลยขายไม่ดี”

คือ พยายามจะสรุปว่า ราคามีผลกับการตัดสินใจซื้อของ Consumer

ขอยกเรื่องหลักเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราคา/ของถูกของแพง มาคุยสัก 2 หัวข้อ

  1. Price Elasticity
  2. Preference

1) Price Elasticity ความยืดหยุ่นของราคา

เรากำลังพูดถึงความ Sensitive ของราคาที่เปลี่ยนไป ที่มีผลกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

1.1. สินค้าที่ Low elasticity หรือ มีความยืดหยุ่นด้านราคาต่ำ คือ ราคาแทบไม่มีผลอะไรกับการซื้อ เช่น เหล้า บุหรี่ ไม่ว่าจะโดนภาษีสูงขนาดไหน คนก็ยังซื้ออยู่ดี

1.2. สินค้าที่ High elasticity หรือ มีความยืดหยุ่นด้านราคาสูง ราคาขึ้นนิดนึง-คนเลิกซื้อ ราคาลง-คนแห่กันซื้อ เช่น

2) Preference รสนิยม/ความชอบ

สินค้าชิ้นเดียวกัน บางคนมองว่าแพง แต่ก็มีอีกหลายคนที่มองว่าไม่แพง

สินค้าต่าง Category กัน คนบางคนอาจจะมองว่าเป็น Category ที่ฟุ่มเฟือย แต่อีกคนอาจจะมองว่าคุ้มค่าสมราคา

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพดีกว่า เช่น บางคนซื้อ iPhone ราคา 3-4หมื่น แล้วต้องยอมกินมาม่าทุกมื้อไป 2-3 เดือน (มีคนแบบนี้อยู่นะครับ อย่าคิดว่าไม่มี)

คือ คนๆนี้ เห็นค่าของ iPhone มากกว่า อาหารที่จะเลือกกิน ซึ่งอันนี้ว่ากันไม่ได้ เพราะเป็นรสนิยม เป็นความชอบส่วนตัว

ถ้าจะบอกว่า Preference เป็นเรื่องของคนมีตังค์/คนมีอันจะกิน ลองดูสินค้าอย่าง เหล้า/บุหรี่ คนรากหญ้า(บางคน) ถ้ากำเงินในมือไม่กี่สิบบาท ถามว่าเลือกอะไรก่อนน่าจะนึกออกนะครับ

จะบอกว่ารสนิยม นี่คือ Emotion ที่มีต่อสินค้านั้นๆ ก็พอได้

เล่าถึงตรงนี้ การพูดลอยๆ ว่า “ราคาแพง” เป็นปัจจัยที่

ทำให้ขายดี/ขายไม่ดี อาจจะไม่เพียงพอ

ถ้ายกหลักการ 2 เรื่องนี้มาจับ อาจจะต้องทำการบ้านเพิ่มนิด

  • สินค้าที่เรากำลังพูดถึงมี Price Elasticity เป็นยังไง (สูง/ต่ำ)
  • ราคา(ปกติ)ที่เหมาะสมอยุ่ที่เท่าไหร่ มี study มั๊ย?
  • ลดราคาเท่าไหร่ ถึงจะ optimize ยอดขายได้สูงสุด (จุดที่ลดเยอะกว่านี้ยอดขายก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น)
  • ถ้าราคาแพงกว่าคู่แข่งแล้วเกิด Brand Switching มีอะไรพิสูจน์ได้บ้าง
  • ลูกค้าประจำของเรา ตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยเหตุผล/อารมณ์ ด้วยราคา/ความชอบ
  • Marketing Team ของคุณ มี Plan อะไรบ้างที่จะทำให้คนชอบสินค้าคุณ
  • เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า คำถามข้างบนไม่มีคำว่า “แพง” อยู่เลย

เพราะอะไร?? นั่นสิ เพราะอะไร!!