การทำงานร่วมกันกับ Buyer ห้าง แทบจะเกือบทุกครั้ง ผมว่าคุณรู้สึกได้ว่า เดาทางBuyerไม่ค่อยจะถูก (ยกเว้น ความเสียเปรียบ อันนี้แทงหวยไม่เคยถูก)
อาจเป็นเพราะว่า Nature of Business ที่ต่างกันคือ
Supplier คิดและผลิตสินค้า และทำ Marketing ให้ลูกค้ารู้จักสินค้า
ส่วนห้างก็มีหน้าที่ดึงลูกค้าเข้าห้างเพื่อมาซื้อสินค้า
แต่ปลายทางก็เพื่อขายสินค้าเหมือนกัน
เอ……แล้วทำไมเรื่องเดียวกัน แต่เกิดภาพที่ไปคนละทางตลอด (ระหว่าง Buyer vs. Supplier)
ที่มาของความเห็นต่าง
เข้าตัวอย่างคลาสสิคตลอดกาลของการดีลกับ Buyer นั่นก็คือ การนำเสนอสินค้าใหม่
สิ่งที่ Supplier คิด :
- ขอเข้าทุกสาขา
- ขอเข้าทุก Format
- ต้องเอาสินค้าให้เข้าตรงเวลา
- ขอ location ดี
- ขอ Facing เยอะ
สิ่งที่ Buyer คิด : 😤
- สินค้าตัวนี้ตรงกับ Shopper Profile มั๊ย?
- ต้องเอาสินค้าเดิมออก เอาตัวไหนออกดี?
- จะไปบอกเจ้าที่ถูกเอาออกยังไงดี?
- สินค้าใหม่จะขายได้มากกว่าตัวที่เอาออกรึเปล่า?
- สินค้าใหม่จะไปกินยอดขายตัวเดิมรึเปล่า?
- สินค้าใหม่จะทำให้ Total Category โตรึเปล่า?
ชัดเจนมากว่า ไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลย
และเมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกัน ผลมักจะออกมาตามที่ Buyer ต้องการ(เป็นส่วนใหญ่)
นั่นจึงเป็นที่มาของสิ่งที่เกิดขึ้นตลอด คือ
การทำค้าขายด้วยอารมณ์ Lose-Win
Supplier เสียเปรียบตลอด
นี่คือสาเหตุหลักของความรู้สึก/อารมณ์ ของ Supplier (แทบทุกคนที่เข้ามาปรึกษาผม) ความรู้สึกที่ว่า “ถูกเอารัดเอาเปรียบ” จากห้าง/จัดซื้อ คือ Buyer ขออะไร ต้องให้ หรือเป็นต้องได้ ตลอดสิน่า
👇 Lose : ตัว Supplier นั้นขายไปแบบเสียไม่ได้
👆 Win : ในขณะที่เข้าใจว่า Buyer/ห้างนั้น มีแต่ได้กับได้
ซึ่งการทำธุรกิจร่วมกันด้วยอารมณ์ที่ว่า ไม่ส่งผลดีให้กับฝ่ายใดเลย
สรุป
เอาจริงๆ ไอ้ความคิดของ Supplier ที่ว่า Buyer นั้นเป็นฝ่าย Win หรือ ได้เปรียบเสมอๆ นั้น จากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีทั้งสองฝ่าย ต้องขอบอกว่า ไม่เสมอไป
Buyer เองก็มีกรอบ มีข้อจำกัดในการทำงานมากมาย มากกว่าที่คุณจะคิดออก และหลายครั้งที่รับสินค้าใหม่คุณเข้าไป Buyer เองรู้สึกว่า ตัวเองต่างหากที่ Lose ไม่ว่าจะ
- รับสินค้าใหม่ เข้ามาแบบเสียไม่ได้
- รับสินค้าใหม่ เข้ามาทั้งๆ ที่รู้ว่าอีกไม่นานก็ต้องถูกเอาออก
- รับสินค้าใหม่ เพราะเห็นแก่ Other Income
- เป็นต้น
ปัญหานี้พอจะแก้ไขได้ คือ มองให้ครบทุกมุม
พยายามทำความเข้าใจว่า Nature ห้างคืออะไร
พยายามเข้าใจว่า Buyer ถูกจ้างมาทำหน้าที่อะไร
ผมขอย้ำอีกครั้งนะครับ ว่า
“หน้าที่ของ Supplier” ไม่ใช่เน้นที่ “ตัวเองเป็นศูนย์กลาง”
แต่ให้เน้นหาพื้นที่ที่
“Supplier และ Buyer ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน”
แน่นอนว่า คุณต้องเหนื่อยขึ้น แต่ผมรับรองว่า คุณจะได้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าตอนที่คุณใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง